Thermodynamics

KMITL MASTERCLASS
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Category Full Course
วิชานี้มี Certificate

ราคา

1,000 บาท

เกี่ยวกับคอร์ส

ศึกษาหลักการและความหมายของเทอร์โมไดนามิกส์ คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์สถานะของก๊าซอุดมคติ กฎของเทอร์โมไดนามิกส์ อุณหภูมิ พลังงาน ระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์ เอลทัลปี เอนโทรปี กลจักรความร้อน วัฎจักร์คาร์โนต์

วัตถุประสงค์

  1. เข้าในหลักการทางเทอร์โมไดนามิกส์
  2. สามารถวิเคราะห์กระบวนการและวัฎจักรทางเทอร์โมไดนามิกส์ได้
  3. สามารถนำหลักการทางเทอร์โมไดนามิกส์ไปประยุกต์ใช้และแก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้

บทเรียนทั้งหมด (14 บท)

1 ตอนที่ 1 บทนำ หลักการและความหมายของเทอร์โมไดนามิกส์   

  

นิยาม ความหมายเบื้องต้น ปริมาณและหน่วยของปริมาณพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาเทอร์โมไดนามิกส์ เช่น ระบบ พลังงาน งาน เป็นต้น

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

2 ตอนที่ 2 อุณหภูมิและกฎข้อที่ศูนย์ของเทอร์โมไดนามิกส์   

  

อุณหภูมิ หน่วย(สเกล) ของอุณหภูมิ ความดัน การวัดความดัน ชนิดของความดัน เป็นปริมาณที่สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณทางเทอร์โมไดนามิกส์ ในบทนี้ จึงกล่าวถึงชนิดของสเกลอุณหภูมิและความดัน รวมทั้งการวัดความดันโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงความสูงของของเหลว

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

3 ตอนที่ 3 พลังงานและการถ่ายโอนพลังงาน   

  

อธิบายถึงพลังงานในรูปแบบต่างๆ การพิจารณาพลังงานรวมของระบบ การถ่ายโอนพลังงานที่อยู่ในรูปแบบความร้อน และงาน

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

4 ตอนที่ 4 กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์   

  

กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของพลังงานที่อยู่ในรูปแบบความร้อน งาน และพลังงานภายใน โดยพิจารณาว่าพลังงานสามารถถ่ายโอนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้รวมทั้งสามารถเปลี่ยนรูปแบบของพลังงานได้ และศึกษาประสิทธิภาพในการถ่ายโอนพลังงานเหล่านั้น

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

5 ตอนที่ 5 สมบัติของสารบริสุทธิ์   

  

ในกระบวนการต่าง ๆ ทางเทอร์โมไดนามิกส์ต้องมีการใช้สารทำงานเป็นตัวกลางในการถ่ายโอนและการเปลี่ยนรูปพลังงาน ดังนั้นในบทนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงสมบัติและการเปลี่ยนแปลงสมบัติของสารทำงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์กระบวนการในทางเทอร์โมไดนามิกส์

ผศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

6 ตอนที่ 6 สมการสถานะของก๊าซอุดมคติ   

  

กฎของแก๊สซึ่งมีผลต่อการหาสภาวะของแก๊สอุดมคติซึ่งเป็นสมบัติที่วัดการเบี่ยงเบนหรือการถ่ายโอนความร้อน รวมถึงมีการอธิบายสมการสภาวะอื่น ๆ ที่มีการนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์

ผศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

7 ตอนที่ 7 หลักการอนุรักษ์พลังงานสำหรับระบบปิด   

  

การใช้หลักการอนุรักษ์พลังงานในการวิเคราะห์พลังงานในระบบปิด การวิเคราะห์พลังงานของระบบสำหรับสารบริสุทธิ์ทั่วไป ความร้อนจำเพาะซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงานโดยมีการใช้กฎข้อที่สองของทางเทอร์โมไดนามิคส์เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์

ผศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

8 ตอนที่ 8 พลังงานภายในและเอนทาลปี   

  

การใช้พลังงานภายใน เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนภายในระบบรวมถึงฟังก์ชันของเอนทาลปีที่มีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาของระบบ เพื่อคำนวณหาผลรวมหรือการเปลี่ยนแปลงพลังงานทั้งหมดของระบบ

ผศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

9 ตอนที่ 9 กฎอนุรักษ์มวลและงานเนื่องจากการไหล   

  

การประยุกต์ใช้กฎการอนุรักษ์มวลในการวิเคราะห์ระบบที่มีการไหลของของไหลที่มีการไหลในรูปแบบคงที่และไม่คงที่

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

10 ตอนที่ 10 การวิเคราะห์มวลและพลังงานสำหรับระบบเปิด   

  

การประยุกต์ใช้กฎการอนุรักษ์มวลในการวิเคราะห์ระบบที่เกิดจากการถ่ายโอนมวลในระบบเปิด

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

11 ตอนที่ 11 กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์และกลจักรความร้อน   

  

กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ที่จะเป็นตัวบอกทิศทางของกระบวนการต่างๆ และกลจักรความร้อนที่มีการทำงานเป็นไปตามกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ รวมไปถึงการคำนวณหาประสิทธิภาพเชิงความร้อนของกลจักรความร้อน

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

12 ตอนที่ 12 เครื่องทำความเย็นและปั๊มความร้อน   

  

เครื่องทำความเย็นและปั๊มความร้อนเป็นอีกสองอุปกรณ์ที่มีการทำงานเป็นไปตามกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ และสามารถคำนวณหาประสิทธิภาพหรือสมรรถนะของเครื่องจักรทั้งสองชนิดได้

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

13 ตอนที่ 13 วัฏจักรคาร์โนต์   

  

วัฏจักรคาร์โนต์เป็นวัฏจักรในอุดมคติซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด ในการคำนวณหาประสิทธิภาพจากวัฏจักรคาร์โนต์นี้จะเป็นการกำหนดให้วัฏจักรเป็นแบบผันกลับได้อย่างสมบูรณ์ ในบทนี้จะแสดงวิธีการคำนวณเพื่อหาประสิทธิภาพของวัฏจักรคาร์โนต์อย่างง่าย

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

14 ตอนที่ 14 เอนโทรปี   

  

เอนโทรปีเป็นสมบัติที่ถูกนิยามเพิ่มเติมจากกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์เพื่อทำให้เข้าใจทิศทางของกระบวนการทางวิศวกรรมทั่วไปมากยิ่งขึ้น กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะดำเนินไปตามหลักการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

ผู้สอน

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นักวิชาการ ประจำห้องปฏิบัติการทดสอบคุณสมบัติวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR)

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นักวิจัย สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ผศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คอร์สหมวด Full Course

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save