Thermodynamics

KMITL MASTERCLASS
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Category Full Course
วิชานี้มี Certificate

ราคา

1,000 บาท

เกี่ยวกับคอร์ส

ศึกษาหลักการและความหมายของเทอร์โมไดนามิกส์ คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์สถานะของก๊าซอุดมคติ กฎของเทอร์โมไดนามิกส์ อุณหภูมิ พลังงาน ระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์ เอลทัลปี เอนโทรปี กลจักรความร้อน วัฎจักร์คาร์โนต์

วัตถุประสงค์

  1. เข้าในหลักการทางเทอร์โมไดนามิกส์
  2. สามารถวิเคราะห์กระบวนการและวัฎจักรทางเทอร์โมไดนามิกส์ได้
  3. สามารถนำหลักการทางเทอร์โมไดนามิกส์ไปประยุกต์ใช้และแก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้

บทเรียนทั้งหมด (14 บท)

1 ตอนที่ 1 บทนำ หลักการและความหมายของเทอร์โมไดนามิกส์   

  

นิยาม ความหมายเบื้องต้น ปริมาณและหน่วยของปริมาณพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาเทอร์โมไดนามิกส์ เช่น ระบบ พลังงาน งาน เป็นต้น

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

2 ตอนที่ 2 อุณหภูมิและกฎข้อที่ศูนย์ของเทอร์โมไดนามิกส์   

  

อุณหภูมิ หน่วย(สเกล) ของอุณหภูมิ ความดัน การวัดความดัน ชนิดของความดัน เป็นปริมาณที่สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณทางเทอร์โมไดนามิกส์ ในบทนี้ จึงกล่าวถึงชนิดของสเกลอุณหภูมิและความดัน รวมทั้งการวัดความดันโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงความสูงของของเหลว

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

3 ตอนที่ 3 พลังงานและการถ่ายโอนพลังงาน   

  

อธิบายถึงพลังงานในรูปแบบต่างๆ การพิจารณาพลังงานรวมของระบบ การถ่ายโอนพลังงานที่อยู่ในรูปแบบความร้อน และงาน

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

4 ตอนที่ 4 กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์   

  

กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของพลังงานที่อยู่ในรูปแบบความร้อน งาน และพลังงานภายใน โดยพิจารณาว่าพลังงานสามารถถ่ายโอนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้รวมทั้งสามารถเปลี่ยนรูปแบบของพลังงานได้ และศึกษาประสิทธิภาพในการถ่ายโอนพลังงานเหล่านั้น

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

5 ตอนที่ 5 สมบัติของสารบริสุทธิ์   

  

ในกระบวนการต่าง ๆ ทางเทอร์โมไดนามิกส์ต้องมีการใช้สารทำงานเป็นตัวกลางในการถ่ายโอนและการเปลี่ยนรูปพลังงาน ดังนั้นในบทนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงสมบัติและการเปลี่ยนแปลงสมบัติของสารทำงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์กระบวนการในทางเทอร์โมไดนามิกส์

รศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

6 ตอนที่ 6 สมการสถานะของก๊าซอุดมคติ   

  

กฎของแก๊สซึ่งมีผลต่อการหาสภาวะของแก๊สอุดมคติซึ่งเป็นสมบัติที่วัดการเบี่ยงเบนหรือการถ่ายโอนความร้อน รวมถึงมีการอธิบายสมการสภาวะอื่น ๆ ที่มีการนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในระบบทางเทอร์โมไดนามิกส์

รศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

7 ตอนที่ 7 หลักการอนุรักษ์พลังงานสำหรับระบบปิด   

  

การใช้หลักการอนุรักษ์พลังงานในการวิเคราะห์พลังงานในระบบปิด การวิเคราะห์พลังงานของระบบสำหรับสารบริสุทธิ์ทั่วไป ความร้อนจำเพาะซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงานโดยมีการใช้กฎข้อที่สองของทางเทอร์โมไดนามิคส์เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์

รศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

8 ตอนที่ 8 พลังงานภายในและเอนทาลปี   

  

การใช้พลังงานภายใน เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนภายในระบบรวมถึงฟังก์ชันของเอนทาลปีที่มีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาของระบบ เพื่อคำนวณหาผลรวมหรือการเปลี่ยนแปลงพลังงานทั้งหมดของระบบ

รศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

9 ตอนที่ 9 กฎอนุรักษ์มวลและงานเนื่องจากการไหล   

  

การประยุกต์ใช้กฎการอนุรักษ์มวลในการวิเคราะห์ระบบที่มีการไหลของของไหลที่มีการไหลในรูปแบบคงที่และไม่คงที่

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

10 ตอนที่ 10 การวิเคราะห์มวลและพลังงานสำหรับระบบเปิด   

  

การประยุกต์ใช้กฎการอนุรักษ์มวลในการวิเคราะห์ระบบที่เกิดจากการถ่ายโอนมวลในระบบเปิด

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

11 ตอนที่ 11 กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์และกลจักรความร้อน   

  

กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ที่จะเป็นตัวบอกทิศทางของกระบวนการต่างๆ และกลจักรความร้อนที่มีการทำงานเป็นไปตามกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ รวมไปถึงการคำนวณหาประสิทธิภาพเชิงความร้อนของกลจักรความร้อน

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

12 ตอนที่ 12 เครื่องทำความเย็นและปั๊มความร้อน   

  

เครื่องทำความเย็นและปั๊มความร้อนเป็นอีกสองอุปกรณ์ที่มีการทำงานเป็นไปตามกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ และสามารถคำนวณหาประสิทธิภาพหรือสมรรถนะของเครื่องจักรทั้งสองชนิดได้

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

13 ตอนที่ 13 วัฏจักรคาร์โนต์   

  

วัฏจักรคาร์โนต์เป็นวัฏจักรในอุดมคติซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด ในการคำนวณหาประสิทธิภาพจากวัฏจักรคาร์โนต์นี้จะเป็นการกำหนดให้วัฏจักรเป็นแบบผันกลับได้อย่างสมบูรณ์ ในบทนี้จะแสดงวิธีการคำนวณเพื่อหาประสิทธิภาพของวัฏจักรคาร์โนต์อย่างง่าย

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

14 ตอนที่ 14 เอนโทรปี   

  

เอนโทรปีเป็นสมบัติที่ถูกนิยามเพิ่มเติมจากกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์เพื่อทำให้เข้าใจทิศทางของกระบวนการทางวิศวกรรมทั่วไปมากยิ่งขึ้น กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะดำเนินไปตามหลักการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

ผู้สอน

ผศ.ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นักวิชาการ ประจำห้องปฏิบัติการทดสอบคุณสมบัติวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR)

ผศ.ดร.เมตยา กิติวรรณ

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นักวิจัย สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

รศ.ดร.ยลพัชร์ อารีรบ

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คอร์สหมวด Legend

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save