สัญญาณแบบต่อเนื่องและเฟสล็อคลูปเพื่อการสื่อสาร

KMITL MASTERCLASS
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Category Happy Life
วิชานี้มี Certificate

ราคา

1,990 บาท

เกี่ยวกับคอร์ส

Introduction to Continuous Signal and Systemองค์ประกอบสัญญาณ มีคาบ และ ไม่มีคาบ และการวิเคราะห์ Trigonometry Fourier Series, Exponential Fourier Series, องค์ประกอบสัญญาณ มีคาบ เมื่อมีการย่อขยายทางขนาด การย่อขยายทางเวลา และการเลื่อนทางเวลา,การแสดงองค์ประกอบสัญญาณมีคาบด้วย กราฟ หรือสเปคตรัม,การแปลงฟูเรียห์เพื่อหาองค์ประกอบสัญญาณไร้คาบ,Introduction to continuous linear system and mathematical model,คณิตศาสตร์ แบบจำลองระบบ LTI ด้วยสมการอนุพันธ์ และการหาค่าคำตอบของมัน หรือเอาต์พุตของ ,ระบบเมื่อมีอินพุตและไม่มีอินพุต,การแปลงลาปลาสสำหรับการแก้สมการอนุพันธ์ของระบบ,Zero Input & Zero state response และความสัมพันธ์ของมันกับ Homogeneous & Particular Solution, Transfer function pole , zero ,ชนิดของโพล และค่ารากของมการคุณลักษณะ,Impulse response and convolution, Frequency response, Phase Locked Loop และการประยุกต์ใช้งานในการสื่อสาร,Introduction to Phase Locked Loop ,การป้อนอินพุตให้กับ Phase Locked Loop และผลตอบสนอง,การมอดูเลต PWM ด้วย Phase Locked Loop,การเลื่อนเฟสด้วยการรวมสัญญาณ

บทเรียนทั้งหมด (16 บท)

1 ตอนที่ 1 สัญญาณต่อเนื่องและองค์ประกอบ   

  

ในหัวข้อนี้จะได้กล่าวถึงความหมายของสัญญาณองค์ประกอบของสัญญาณ ตลอดจนสัญญาณหลักที่ใช้เป็นสัญญาณตัวแทนของสัญญาณต่าง ๆ

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

2 ตอนที่ 2.1 Trigonometry Fourier Series   

  

  • ปรัชญาแนวคิดในเรื่ององค์ประกอบของสัญญาณ ที่กล่าวว่าสัญญาณใด  ๆ  ก็ตามจะประกอบรวมตัวขึ้นจากสัญญาณมูลฐาน
  • คลื่นรูปโคไซน์ และการแปรความหมายปรัชญาดังกล่าวไปเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่เรียกกันว่า Trigonometry Fourier Series

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

3 ตอนที่ 2.2 Exponential Fourier Series   

  

ในหัวข้อนี้จะเป็นการนำเอาความสัมพันธ์ ของจำนวนเชิงซ้อนของออยเลอร์มาขยายความองค์ประกอบสัญญาณ แบบ Trigonometry Fourier Series ให้เป็นสัญญาณในรูปแบบองค์ประกอบแบบ Exponential หรือ Exponential Fourier Series

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

4 ตอนที่ 2.3 องค์ประกอบสัญญาณ มีคาบ เมื่อมีการย่อขยายทางขนาด การย่อขยายท…   

  

จะกล่าวถึงเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์สัญญาณ ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกันแต่มีควาแตกต่าง กันในโดเมนของเวลา โดเมนทางขนาด ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไรในมุมขององค์ประกอบของสัญญาณ

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

5 ตอนที่ 2.4 การแสดงองค์ประกอบสัญญาณมีคาบด้วย กราฟ หรือสเปคตรัม   

  

ในหัวข้อนี้จะเป็นการกล่าวถึงการแสดงองค์ประกอบของสัญญาณในรูปแบบของกราฟฟิก แทนที่จะเป็นการแสดงองค์ประกอบในเชิงความสัมพันธ์ ทางคณิตศาสตร์ในรูปแบบอนุกรม

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

6 ตอนที่ 2.5 การแปลงฟูเรียห์เพื่อหาองค์ประกอบสัญญาณไร้คาบ   

  

กล่าวถึงที่มาของสูตรที่ใช้ในการวิเคราะห์สัญญาณไร้คาบ ตลอดจนแนวคิดในเรื่องความสัมพันธ์ของสัญญาณมีคาบและสัญญาณไม่มีคาบหรือไร้คาบ และสูตรการหารูปร่างของสัญลักษณในโดนเมนเวลาจากองค์ประกอบสัญญาณหรือสเปคตรัลเดนซิตี้ของมัน และการแปลงฟูเรียห์ของสัญญาณรูปแบบต่าง  ๆ  ที่มีความสำคัญ อาทิเช่น สัญญาณ อิมพัลส์ สัญญาณขั้นบันใดหนึ่งหน่วยเป็นต้น

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

7 ตอนที่ 3.1 คณิตศาสตร์ แบบจำลองระบบ LTI ด้วยสมการอนุพันธ์ และการหาค่าคำ…   

  

ในส่วนนี้จะได้กล่าวถึงที่มาความหมายของระบบ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์(สมการอนุพันธ์)ที่ใช้ในการอธิบายพฤติกรรมต่าง  ๆ ของระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ LTI การแก้สมการหาค่าคำตอบของสมการอนุพันธ์ของระบบหรือเอาต์พุตของระบบ

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

8 ตอนที่ 3.2 การแปลงลาปลาสสำหรับการแก้สมการอนุพันธ์ของระบบ   

  

กล่าวถึงความสัมพันธ์ของการแปลงลาปลาสและการแปลงฟูเรียห์และฟังก์ชันมูลฐานของมัน การแปลงลาปลาสของสัญญาณที่ถูกทำอนุพันธ์อันดับต่าง ๆ  และใช้เทคนิคดังกล่าวในการแปลงลาปลาส จัดรูป และแปลงกลับลาปลาสเพื่อให้ได้คำตอบหรือเอาต์พุตของระบบ โดยค่าเอาต์พุตจะประกอบไปด้วย ผลการตอบสนองทางธรรมชาติ หรือ homogeneous solution และผลตอบสนองบังคับ particular solution และเมื่อนำคำตอบ homogeneous solution ไปรวมเข้ากับ particular solution ก็จะได้ค่าคำตอบที่เรียกว่า complete solution และเมื่อนำ complete solution ไปแทนค่าเงื่อนไขเริ่มต้นก็จะได้คำตอบที่สมบูรณ์ที่สุดที่เรียกว่า Exact solution

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

9 ตอนที่ 3.3 Zero Input & Zero state response และความสัมพันธ์ของมันก…   

  

จะได้กล่าวถึงค่าผลอบสนองในมุมมองของระบบ เมื่อไม่มีการป้อนอินพุตให้กับระบบ หรือ Zero Input ซึ่งก็คือ homogeneous solutionที่มีการแทนค่าเงื่อนไขเริ่มต้นเข้าไปแล้ว ตลอดจนค่าคำตอบหรือเอาต์พุตที่เรียกว่า Zero state response ซึ่งก็คือ complete solution ที่มีการแทนค่าเงื่อนไขเริ่มต้นเป็นศูนย์เข้าไป และเมื่อนำ Zero Input รวมกับ Zero state response ก็จะได้คำตอบที่เรียกว่า Exact solution

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

10 ตอนที่ 3.4 Transfer function pole , zero   

  

เป็นการกล่าวถึงการแปลงสมการอนุพันธ์ที่ใช้จำลองแบบระบบด้วยการแลงลาปลาสและหาอัตราส่วนระหว่างการแปลงลาปลาสของเอาต์พุตกับการแปลงลาปลาสของอินพุตซึ่งถูกเรียกว่า Transfer function และการหาค่ารากของความของโพลิโนเมิยล Transfer function ในส่วนตัวหาร ที่เรียกว่า pole และในส่วนของโพลิโนเมิยลตัวตั้งเรียกว่า Pole และความสัมพันธ์ของพวกมันกับค่ารากสมการ characteristic ของสมการอนุพันธ์ของระบบ

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

11 ตอนที่ 3.5 Impulse response and convolution   

  

เป็นการกล่าวถึงการหาค่าเอาต์พุตของระบบ จาก ผลตอบสนองอิมพัลส์ของระบบกับค่าอินพุตรูปแบบใด ๆ ก็ได้ โดยเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า convolution โดยการทำ convolution จะได้ค่าคำตอบสองชนิดด้วยกันซึ่งขึ้นอยู่กับขอบเขตของการทำปริพันธ์คือถ้าทำปริพันธ์ตั้งแต่ 0 ถึงเวลา t ใด ๆ จะได้คำตอบ Zero state response และ ถ้าทำปริพันธ์ตั้งแต่ 0 ถึงเวลา อนันต์ ก็จะได้ ผลตอบสนองบังคับหรือ particular solution

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

12 ตอนที่ 3.6 Frequency response   

  

ในหัวข้อนี้จะเป็นการกล่าวถึงเอาต์พุตของระบบเมื่อมีการป้อนอินพุตเป็นสัญญาณรูปโคไซน์ที่ความถี่ต่าง ๆ กันโดยสามารถหาความสัมพันธ์หรือผลตอบสนองทางความถี่ได้หลายวิธีด้วยกันเช่นการแทน ตัวแปร s ใน transfer function ด้วย iw , การหาจาก ผลลัพธ์ sinusoidal steady state response หรือหาด้วยอัตราส่วนระหว่าง การแปลงฟูเรียห์ของอาต์พุตกับอินพุต โดยฟังก์ชันผลตอบสนองทางความถี่จะประกอบ ไปด้วยผลการตอบสนองสองส่วนคือ ผลการตอบสนองทางขนาดกับความถี่ และผลการตอบสนองทางเฟสกับความถี่

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

13 ตอนที่ 4.1 Introduction to Phase Locked Loop (PLL)   

  

เป็นการแนะนำระบบ LTI ที่ปริมาณทางกายภาพที่ระบบทำการประมวลผลคือ มุมเฟส และความถี่ การทำความรู้จักกับบล็อกไดอะแกรมของระบบ PLL ในทางทฤษฎี และปฏิบัติ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่อธิบายพฤติกรรมของระบบ และเมื่อ PLL ทำงานในสภาวะคงตัว ความถี่ของสัญญาณอินพุตอ้างอิงจะเท่ากับความถีของสัญญาณเอาต์พุตจาก VCO แต่มีเฟสที่แตกต่างกันไปตามความถีของอินพุต และการนำ PLL ไปใช้งานในระบบสื่อสารและระบบควบคุมใด ๆ

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

14 ตอนที่ 4.2 การป้อนอินพุตให้กับ Phase Locked Loop และผลตอบสนอง   

  

กล่าวถึงเทคนิคในการป้อนอินพุตให้กับ PLL นอกเหนือไปจากอินพุตอ้างอิงของระบบและหาค่าผลตอบสนองทางความถี่ของมัน โดยมีการป้อนอินพุตที่นอกเหนือไปจากอินพุตอ้างอิงอยู่ด้วยกันสองจุดใหญ่ ๆ  คือที่ ที่อินพุตและเอาต์พุตของ ตัวกรองความถี่ต่ำที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบ PLL

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

15 ตอนที่ 4.3 การมอดูเลต PWM ด้วย Phase Locked Loop   

  

เป็นการกล่าวถึงการนำ PLL ไปใช้ในการมอดูเลต โดยสามารถนำไปสร้างเป็นตัวมอดูเลตทาง เฟส ได้ถ้าคลื่นพาห์เป็นสัญญาณ รูปโคไนซ์ หรือเป็นการมอดูเลตความกว้างพัลส์ถ้าคลื่นพาห์เป็นคลื่นรูปสี่เหลี่ยม ตลอดจนสามรถนำ PLL ไปใช้ในการ ดีมอดูเลตแบบเอฟเอ็มได้ ตลอดจนถึงกระบวนการในการแปลงระบบการมอดูเลตชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งได้ เช่น แปลง เอฟเอ็มเป็น PWM หรือในทางกลับกัน

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

16 ตอนที่ 4.4 การเลื่อนเฟสด้วยการรวมสัญญาณ   

  

เป็นการกล่าวถึงการนำ PLL ไปใช้เป็นระบบเลื่อนเฟสให้กับสัญญาณด้วยอิเลกทรอนิกส์ ด้วยการควบคุมอัตราการขยายของ ตักรองความถี่ต่ำและการป้อนเป็นอินพุตควบคุมการเลื่อนเฟสที่ อินพุตและเอาต์พุตของตัวกรองความถี่ต่ำที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของ PLL และสรุป

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

ผู้สอน

ศ.ดร.ปราโมทย์ วาดเขียน

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คอร์สหมวด Legend

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save