THAI AND EASTERN ASIA INTERIOR ARCHITECTURE
KMITL MASTERCLASS
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ราคา
1,000 บาท
- Don't have an account? Signup Now »
- Lost your password?
บทเรียนทั้งหมด (9 บท)
1 ตอนที่ 1 Introduction
แนะนำตัวผู้สอน ประวัติและประสบการณ์การทำงาน บรรยายเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมภายใน คืออะไร วัตถุประสงค์ของรายวิชา ผู้เรียนควรมีพื้นฐานความรู้อะไรก่อนการเรียน บทเรียนทั้ง 8 บท ซึ่งผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมภายในรวมทั้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจในด้านคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมภายในของไทยและเอเซีย
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
2 ตอนที่ 2 สถาปัตยกรรมภายในคืออะไร
อธิบายถึงความหมายของคำว่า สถาปัตยกรรมภายใน ขอบเขตของการศึกษาทางสถาปัตยกรรมภายใน การนำความรู้ทางสถาปัตยกรรมภายในไปประยุกต์ใช้
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
3 ตอนที่ 3 พัฒนาการของสถาปัตยกรรมไทย
นิยาม พัฒนาการของสถาปัตยกรรมไทยในช่วงสุโขทัย(ล้านนา ขอม วัสดุไม้) พัฒนาการของสถาปัตยกรรมไทยในช่วงอยุธยา(เอกลักษณ์ไทย รับตะวันตก Arch + จีน สี กระเบื้องเคลือบ ไทยเก่งหล่อโลหะ) พัฒนาของสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์(ช่วงต้นรับอยุธยา เริ่มเปลี่ยนยุค ร.๔ ร.๕ เสด็จประพาสยุโรป รัสเซีย สร้างเลียนแบบ
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
4 ตอนที่ 4 โครงสร้างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมภายใน
อธิบายถึงลักษณะโครงสร้างของสถาปัตยกรรมไทย (สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาทรงจั่วคลุม) จันทัน / ดั้ง / ข้อจำกัดเรื่องขนาดไม้ที่มีผลต่อขนาด ผลกระทบของระบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมไทยกับพื้นที่ว่างภายใน ระบบโครงสร้างสังคม วัสดุ
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
5 ตอนที่ 5 จิตรกรรมกับการตกแต่งในงานสถาปัตยกรรมภายในของไทย
อธิบายเกี่ยวกับเทคนิคของงานจิตรกรรมไทยในงานสถาปัตยกรรม วัด วัง วิธีการใช้ เทคนิคการทาสี ดา(รัก) แดง ขาว(น้ำปูน) ซึ่งมาจากวัสดุธรรมชาติ ผสมกาวหนังสัตว์ ทอง เพื่อให้เกิดคุณค่า โดยนำเรื่องราวของพุทธชาดกมาเล่าเป็นภาพประกอบบนฝาผนังซึ่งพม่า ญี่ปุ่นไม่มีลักษณะนี้ เป็นบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในยุคนั้น ๆ ด้วย เช่น ภาพกาก รวมถึงรูปแบบของการใช้งานจิตรกรรมในงานตกแต่งไทย
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
6 ตอนที่ 6 คติในพุทธศาสนากับงานสถาปัตยกรรมภายในไทย
อธิบายคติจักรวาลในพุทธศาสนา เขาพระสุเมรุ มักถูกวาดหลังพระประธานเสมอ ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ทุกคนสามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ ทศชาติ คติเรื่องการเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ทศชาดกมักวาดไว้ด้านล่างระหว่างช่องหน้าต่าง บทสรุปเกี่ยวกับศาสนาพุทธไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า ศาสดาเป็นผู้ตรัสรู้แล้วบอกผู้อื่นต่อ
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
7 ตอนที่ 7 เจติยวิหาร สังฆิกวิหารสถาปัตยกรรมในพุทธศาสนาในประเทศพม่า
อธิบายรูปแบบของสถาปัตยกรรมของเจติยวิหาร(เจดีย์+วิหาร) เจดีย์แปลว่าเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ศิลปะเฉพาะของพุกามน่าจะได้รับอิทธิพลจากอินเดีย มีจิตรกรรมฝาผนังตกแต่ง สังฆิกวิหาร คล้ายกุฎิในไทย หรือ บ้านพระสงฆ์ ในวัฒนธรรมเมียนมา พุทธาวาสซึ่งเป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้า สังฆาวาสซึ่งเป็นที่อยู่ของสงฆ์ อีกทั้งงานตกแต่ง “นัต” วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ เป็นงานแกะสลักไม้
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
8 ตอนที่ 8 ปราสาทหินวัฒนธรรมเขมร มรดกทางสถาปัตยกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียง…
อาณาจักรฟูนัน รับความเชื่อฮินดูมาจากอินเดีย คติจักรวาล คติเทวราชา ความเชื่อเรื่องรามายนะ คือ พระนารายณ์ลงมาเกิด จึงสร้างเทวสถาน มี 2 ลักษณะ คือ บูชาเทพที่เคารพ(ทิศตะวันออก) และ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รองรับวิญญาณของกษัตริย์ที่จะกลายเป็นเทพ(ทิศตะวันตก) อธิบายลักษณะของปราสาทในวัฒนธรรมขอมกับมิติศาสนาและสังคม ยุคฮินดู (นครวัด พนมกุเลน เป็นต้น) และยุคพุทธนิกายมหายาน
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
9 ตอนที่ 9 พื้นที่ว่าง ระนาบ ในสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมญี่ปุ่น
อธิบาย ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้รับอิทธิพลจากจีน จากนับถือธรรมชาติกลายเป็นพุทธนิกายเซน แผลงมาจาก ชินโต ธรรมชาติ คือ การเปลี่ยนแปลง ความไม่สมบูรณ์ เกิดขึ้น คงอยู่ ดับไป สำแดงออกมาเป็นความไม่ปราณีต มีริ้วรอย ยอมให้ธรรมชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม อธิบายแนวคิดของการใช้พื้นที่ว่าง ระนาบ ในแนวคิดปรัชญาเซ็นของญี่ปุ่น วัดคินคะกุจิ วัดทอง วัดกินกะคุจิ วัดเงิน เด่นเรื่องเงาสะท้อนลงน้ำ วัดเรียวนันจิมีชื่อเสียงเรื่องสวนหิน ใช้ความนิ่งของหินก่อให้เกิดสมาธิ พร้อมด้วยสรุปบทเรียนทั้งหมด
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
ผู้สอน
ผศ.ดร.ญาณินทร์ รักวงศ์วาน
อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมกับวัฒนธรรม การออกแบบนิทรรศการ ประธานหลักสูตร สถ.ด.(สหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาด..