Embedded System and IoT

KMITL MASTERCLASS
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Category Happy Life
วิชานี้มี Certificate

ราคา

1,990 บาท

เกี่ยวกับคอร์ส

สถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ชุดคำสั่ง บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ การเขียนโปรแกรมควบคุม การเชื่อมต่ออุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต การแปลงสัญญาณระหว่างสัญญาณดิจิทัลกับสัญญาณแอนะล็อก การประยุกต์สั่งงานอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุตลักษณะต่าง ๆ เซนเซอร์และการประยุกต์ แนวทางการพัฒนาโครงงานระบบอัตโนมัติ การสั่งงานและควบคุมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

บทเรียนทั้งหมด (11 บท)

1 ตอนที่ 1 ระบบคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์   

  

ระบบคอมพิวเตอร์จะมีไมโครโปรเซสเซอร์เป็นหน่วงประมวลผลกลางโดยติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกผ่านทางพอร์ต โดยพอร์ตอินพุตจะรับข้อมูลเข้ามาประมวลผลแล้วส่งออกไปทางพอร์ตเอาต์พุต โดยการควบคุมการทำงานทั้งหมดจะใช้โปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ส่วนไมโครคอนโทรลเลอร์จะเรียกอีกชื่อว่าคอมพิวเตอร์แบบชิปเดี่ยวโดยจะรวมหน่วยความจำ พอร์ต ไว้ในชิปเดียวกันทำให้สะดวกสำหรับพัฒนาเป็นระบบควบคุม

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

2 ตอนที่ 2 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์และการเขียนโปรแกรมควบคุม   

  

ไมโครคอนโทรลเลอร์พัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยออกแบบเป็นบอร์ดไมโครคออนโทรลเลอร์ซึ่งมีอยู่หลายรุ่น บางรุ่นเขียนโปรแกรมด้วยการใช้บล็อกคำสั่ง บางรุ่นเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง เช่น ภาษาซี ภาษาไพทอน เป็นต้น

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

3 ตอนที่ 3 การเชื่อมต่ออุปกรณ์เอาต์พุต อุปกรณ์แสดงผล   

  

คอมพิวเตอร์ประมวลผลด้วยสัญญาณดิจิทัล อุปกรณ์เอาต์พุตพื้นฐานที่สุดคือหลอดแอลอีดี ส่วนอุปกรณ์อินพุตพื้นฐานคือสวิตซ์ โดยการกดหรือไม่กดสวิตซ์สามารถอ่านค่าเข้ามาเป็นลอจิกสูงหรือต่ำได้

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

4 ตอนที่ 4 ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมประยุกต์   

  

การพัฒนาโปรแกรมจะเริ่มจากการออกแบบอัลกอริทึม โดยอาจเขียนเป็นรหัสเทียมหรือผังงาน จากนั้นนำมาแปลงเป็นโค้ดโปรแกรมเพื่อทดสอบการทำงานต่อไป

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

5 ตอนที่ 5 การเชื่อมต่ออุปกรณ์อินพุต สวิตซ์ คีย์บอร์ดและการเขียนโปรแกรม   

  

สวิตซ์ที่ใช้กับไมโครคอนโทรลเลอร์มีหลายชนิด การต่อสวิตซ์เพื่อเป็นอุปกรณ์อินพุตสามารถต่อได้โดยต่อตัวต้านทานพูลอัพหรือพลูดาว นอกจากนี้ใน Arduino ยังสามารถใช้ตัวต้านทานพลูอัพภายในได้อีกด้วย

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

6 ตอนที่ 6 การแปลงระหว่างสัญญาณดิจิทัลและแอนาล็อก   

  

ระบบคอมพิวเตอร์จะประมวลผลด้วยระบบดิจิทัลแต่ปริมาณทางกายภาพจะเป็นปริมาณแอนาล็อก ในระบบคอมพิวเตอร์จึงมีวงจรแปลงสัญญาณระหว่างสัญญาณแอนาล็อกกับสัญญาณดิจิทัล สำหรับ Arduino มีขาสัญญาณ A0 – A5 เพื่อรับสัญญาณแอนาล็อกโดยตรง

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

7 ตอนที่ 7 เซ็นเซอร์และการประยุกต์   

  

เซ็นเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่ตรวจจับปริมาณทางกายภาพแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผล ในปัจจุบันมีเซ็นเซอร์หลายชนิด เช่น เซ็นเซอร์วัดความเข้มแสง วันอุณหภูมิ เป็นต้น โดยเซ็นเซอร์รุ่นใหม่ ๆ มักจะมีการพัฒนาฟังก์ชันออกมาเป็นโมดูลให้เรียกใช้ ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาโปรแกรม

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

8 ตอนที่ 8 การเชื่อมต่อรีเลย์และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง   

  

ระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานด้วยแรงดันไฟฟ้าต่ำ ถ้าหากต้องการควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเพื่อใช้เป็นสวิตซ์ที่ทำงานกับแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นสามารถนำรีเลย์มาใช้งานได้ ส่วนการขับเคลื่อนอุปกรณ์ภายนอกที่เป็นการเคลื่อนไหวสามารถนำมอเตอร์มาใช้งานได้เช่นกัน แต่ทั้งรีเลย์และมอเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ต้องการกระแสไฟฟ้าสูง ดังนั้นการเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยขับกระแสไฟฟ้าทางพอร์ตเอาต์พุตด้วย

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

9 ตอนที่ 9 การพัฒนาโครงงานระบบอัตโนมัติ   

  

การพัฒนาโครงงานระบบอัตโนมัติเมื่อวิเคราะห์ระบบออกมาแล้วควรพิจารณาว่าอินพุตของระบบคืออะไร เอาต์พุตของระบบคืออะไร จากนั้นเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาใช้งาน

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

10 ตอนที่ 10 เรียนรู้การพัฒนาระบบ IOT   

  

ระบบ IOT เป็นระบบที่ควบคุมได้ผ่านเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต จะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน และทั้งสามส่วนนี้จะทำงานสัมพันธ์กัน

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

11 ตอนที่ 11 โครงงานระบบ IOT   

  

หัวข้อนี้เป็นตัวอย่างการพัฒนา IOT พื้นฐาน สำหรับการนำไปพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

ผู้สอน

รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คอร์สหมวด Legend

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save