Digital Intelligence Quotient

KMITL MASTERCLASS
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Category Full Course
วิชานี้มี Certificate

ราคา

ฟรี

เกี่ยวกับคอร์ส

      ศึกษาทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์ การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง การคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี การรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ การรักษาข้อมูลส่วนตัว การจัดสรรเวลาหน้าจอการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ การรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม เพื่อให้เท่าทันกับเทคโนโลยี และใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด

📖 จำนวนบทเรียนทั้งหมด 11 บทเรียน                            ⏰ 5.12 ชั่วโมง

Level :   Beginner    Intermediate    Expert  

🎭 คอร์สเรียนนี้เหมาะกับใคร : นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป

🌿 วัตถุประสงค์

  •       1. ผู้เรียนเข้าใจทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์และ เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์
  •       2. ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณที่ดี มีการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ การรักษาข้อมูลส่วนตัว การรับมือภัยคุกคามทางโลกออนไลน์
  •       3. ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม เพื่อให้เท่าทันกับเทคโนโลยี และใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด

🗣 ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

  •       1. ผู้เรียนเข้าใจทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์และ เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์
  •       2. ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณที่ดี มีการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ การรักษาข้อมูลส่วนตัว การรับมือภัยคุกคามทางโลกออนไลน์
  •       3. ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม เพื่อให้เท่าทันกับเทคโนโลยี และใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด

👥 คุณสมบัติผู้เรียน

  •       1. กำลังศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงบุคคลทั่วไป
  •       2. มีความสนใจทางด้านเทคโนโลยี และการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล

 

บทเรียนทั้งหมด (11 บท)

1 ตอนที่ 1 ภาพรวมของวิชา   

  

ภาพรวมของรายวิชาความฉลาดทางดิจิทัล (DIGITAL INTELLIGENCE QUOTIENT) ทักษะในการดำรงชีวิตในโลกดิจิทัล

คุณสุระ เกนทะนะศิล

2 ตอนที่ 2 เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen Identity)   

  

เอกลักษณ์พลเมืองในแต่ละยุค เอกลักษณ์ในยุคแอนะล็อก เอกลักษณ์ใน ยุคดิจิทัลความสามารถในการสร้างและบริหารการจัดการเอกลักษณ์ที่ดี ของตนเอง

คุณสุระ เกนทะนะศิล

3 ตอนที่ 3 การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)   

  

ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน ที่ต้องมีการใช้ Internet จำเป็นที่ต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อและใช้งาน ต้องมีการแสดงผลออกมาบนตัวแสดงผลที่เรียกว่า หน้าจอ หากมีการใช้งานอุปรกรณ์นั้นมากเกินไป ก็เหมือนกับมีการติดอยู่กับ หน้าจอมากเกินไป เราจึงควรรู้เท่าทันใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเข้าใจ ผลข้างเคียงของใช้เวลาหน้าจอมากเกินไป และการเสพติดสื่อดิจิทัลต่าง ๆ พร้อมทั้งแบ่งเวลาในการใช้งานดิจิทัลโดยไม่ให้กระทบต่อชีวิตประจำวัน

ผศ.ดร.อนันตพัฒน์ อนันตชัย

4 ตอนที่ 4 การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ (Cyberbullying Management) ตอ…   

  

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Cyberbullying กฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญา ลักษณะการกระทำที่เข้าข่าย Cyberbullying บทกำหนด โทษสำหรับให้ทราบถึงขอบเขตของนิยามคำว่า Cyberbullying กรณีศึกษา Cyberbullying ที่น่าสนใจและวิธีป้องกัน ยกตัวอย่างเหตุการณ์ Cyberbullying ที่น่าสนใจ ที่เกิดขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ ที่มาของ เหตุการณ์ ขณะเกิดเหตุการณ์ และการปฏิบัติตัวหลังเกิดเหตุ Cyberbullying รวมทั้งวิธีป้องกันเหตุ ยกตัวอย่างคดีเกี่ยวกับ Cyberbullying ที่เกิดขึ้นจริง จากประสบการณ์ ที่ได้พบจากปฏิบัติหน้าที่ ตำรวจ และประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับเหตุ Cyberbullying ที่พบเจอมากับตนเอง

พันตำรวจโท มนุพัศ ศรีบุญลือ

5 ตอนที่ 5 การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ (Cyberbullying Management) ตอ…   

  

Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์คืออะไร ประเภทของ Cyberbullying การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ (Cyberbullying Management)

พันตำรวจเอก ปองพล เอี่ยมวิจารณ์

6 ตอนที่ 6 การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย (Cybersecurity Managemen…   

  

ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์คือการรักษาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ของเรา ในหัวข้อนี้จะมีการบรรยายเพื่อเปิดมุมมองใหม่ที่มีต่อการรักษา ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ความสำคัญของการออกแบบระบบ วิธีการโจมตีทางไซเบอร์ที่นิยมทำกันและจะป้องกันไม่ให้ถูกโจมตีได้อย่างไร

ผศ.ดร.พิกุลแก้ว ตังติสานนท์

7 ตอนที่ 7 การจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management)   

  

การรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ประเด็นสำคัญคือ มีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อกับข้อมูล ส่วนบุคคลบ้าง และข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ทำไมเรา ต้องรักษา ทำไมเราต้องป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไว้ ยิ่งในยุคดิจิทัลข้อมูล ส่วนบุคคลสามารถแพร่กระจายได้ง่าย หากไม่รักษาดีๆ บุคคลอื่นที่ทราบ ข้อมูลส่วนบุคคลของเราก็อาจจะนำข้อมูลนั้นไปทำในสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ เพราะฉะนั้นในโลกดิจิทัลปัจจุบัน เราจึงควรที่เรียนรู้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ส่วนบุคคลไว้เพื่อ เพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งมันก็จะเป็นเกราะป้องกัน ตัวเราเองได้ ในยุคดิจิทัลในปัจจุบัน

ผศ.ดร.อนันตพัฒน์ อนันตชัย

8 ตอนที่ 8 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)   

  

Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะที่สำคัญในการดำรงชีวิต ในโลกดิจิทัล ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พิจารณา ประเมินข้อมูล ที่รับมาอย่างเป็นเหตุเป็นผล เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบข่าวปลอม

คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ

9 ตอนที่ 9 ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprints)   

  

รอยเท้าดิจิทัลเปรียบเสมือนร่องรอยการใช้ชีวิตของเราบนโลกออนไลน์ ซึ่งตัวตนบนโลกออนไลน์นั้นถ้าไม่ระวังให้ดีอาจทำร้ายเราในภายหลังได้ แต่หากใช้เป็นก็จะสามารถนำมาซึ่งประโยชน์มากมาย

ผศ.ดร.พิกุลแก้ว ตังติสานนท์

10 ตอนที่ 10 ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ทางดิจิทัล…   

  

ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรมคือแนวทางในการปฏิบัติที่ดีบน โลกดิจิทัล ควรตระหนักถึงความเข้าใจการเอาใจเขามาใส่ใจเรา มารยาททาง อินเทอร์เน็ต การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รวมถึงแยกแยะอารมณ์และพฤติกรรม การแสดงออกในการสื่อสารบนโลกออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม มีทักษะใน การสื่อสารออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดส่งผลต่อการมีจริยธรรมที่ดีบนโลกดิจิทัลในปัจจุบัน

ผศ.ดร.อนันตพัฒน์ อนันตชัย

11 ตอนที่ 11 สถานการณ์ในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับสังคมดิจิทัล การดูแล ประ…   

  

สถานการณ์ในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับสังคมดิจิทัล การดูแลประชาชน เกี่ยวกับดิจิทัล แผนแม่บทด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลระยะ 5 ปี และระยะ 10 ปี เศรษฐกิจดิจิทัล Digital Literacy

คุณสุระ เกนทะนะศิล

ผู้สอน

คุณสุระ เกนทะนะศิล

กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภาผู้จัดรายการวิทยุ Digital Update ทุกวันอาทิตย์ คลื่นข่าว MCOT NEWS FM 10..

ผศ.ดร.อนันตพัฒน์ อนันตชัย

อาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ประสบการณ์การสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 15 ปี

ผศ.ดร.พิกุลแก้ว ตังติสานนท์

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พันตำรวจเอก ปองพล เอี่ยมวิจารณ์

ผู้ค้นคิดโซเชียลบูโร (เว็บไซต์ https://socialbureau.io/) และกรรมการผู้จัดการ บริษัทบล็อกเชนไพรโฮลดิ้ง จำกัด แพลตเพื่อให้คนทั้งโลกสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรออนไลน์

อดีตผู้กำกับการ กลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์ กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรม ทางเทคโนโลยี นักวิชาการด้านอาชญากรรมเชิงนวัตกรรม และอนาค..

พันตำรวจโท มนุพัศ ศรีบุญลือ

สารวัตรสืบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางโพงพาง

อดีตรองสารวัตร กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) กรรมการสมาคมความมั่นคงปลอดภัย ระบบสารสนเทศ (TIS..

คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ

ประธานกรรมการบริหารบริษัทและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด Platform ที่ให้ความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม

คอร์สหมวด Legend

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save