Bio Circular Green Economy (Full Course) : ปักหมุดเศรษฐกิจ

KMITL MASTERCLASS
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วิชานี้มี Certificate

ราคา

1,000 บาท

เกี่ยวกับคอร์ส

วิชานี้ใช้เวลาศึกษาทั้งหมด  8  ตอน  ทั้งหมด  5.03 ชั่วโมง
การฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและนำไปสู่การคิดเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤติของ ทรัพยากรชีวภาพ พร้อมทั้งฝึกทักษะการคิดเชิงออกแบบและลงมือปฏิบัติในการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยด้านเศรษฐกิจชีวภาพเน้นการนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอดจากฐานความเข้มแข็งเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนเน้นการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุด ที่สำคัญคือการมุ่งไปที่การลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ ด้วยการปรับกระบวนการผลิต และด้านเศรษฐกิจสีเขียวเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

บทเรียนทั้งหมด (9 บท)

1 Why Bio Circular Green Economy : BCG? (รศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย)   

  

โมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่การขับเคลื่อนประเทศในยุค Thailand 4.0 และตัวอย่างทำงานของโมเดลเศรษฐกิจ BCG

ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย

2 Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจของแผ่นดินไทย (ด…   

  

เรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว ความหมาย และแนวทางการนำแนวคิดไปใช้ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว

รศ.ดร.จรสวรรณ โกยวานิช

3 BCG economy Model การขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิด BCG (ดร.ทอแสงรัศมี ถีถะ…   

  

เรียนรู้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมที่ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ การทำแป้งข้าวไร่ การแปรรูปสมุนไพรเสม็ดขาว และทำโครงการธนาคารปู ซึ่งดำเนินการโดยความร่วมมือของการวิจัยจากทีมอาจารย์จาก สจล.ชุมพร และชุมชนโดยรอบ โดยใช้แนวคิดของ BCG โมเดล

ผศ.ดร.ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว

4 Circular Economy ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยแนวคิดการใช้ทรัพยากรแบบหมุ…   

  

Zero-waste ทำได้จริงหรือไม่ การแยกขยะที่ถูกต้องควรแยกอย่างไร ตัวอย่างการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนบางปลาม้า ศูนย์ปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี สวนพุทธชาติ

ดร.ไตรรัตน์ เมืองทองอ่อน

5 Circular Economy ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยแนวคิดการใช้ทรัพยากรแบบหมุ…   

  

วิถีการเปลี่ยนขยะเป็นทอง ตัวอย่างการนำโมเดล BCG ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ ตัวอย่างการดำเนินโครงการของวัดจากแดง และชุมชนบางปลาม้า

ดร.ไตรรัตน์ เมืองทองอ่อน

6 Innovation for BCG ความสำคัญของนวัตกรรมในการขับเคลื่อนประเทศไทย (คุณสม…   

  

แนวทางการสร้างนวัตกรรมขององค์กรโดยใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นรากฐาน

คุณสมบูรณ์ มาตรคำจันทร์

7 BCG in Tourism Economy การนำ BCG มาพัฒนาการท่องเที่ยว (ผศ.ดร.พิชชา ประ…   

  

การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองโดยการชูอัตลักษณ์ของชุมชน การสร้างมูลค่าเพิ่มและการกระจายรายได้สู่ชุมชนที่จะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.พิชชา ประสิทธิ์มีบุญ

8 Revising BCG : Sustainable Community and Beyond ทบทวนแนวคิด BCG และการ…   

  

ทบทวนแนวคิด BCG และเทคนิคการนำไปใช้ต่อยอดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและประเทศให้สำเร็จ

ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย

9 Sustainable Development Goals เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน   

  

ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา คำหนึ่งที่เราได้ยินกันอย่างกว้างขวางคือ SDGs ซึ่งย่อมาจาก UN Sustainable Development Goals หรือเป็นหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ซึ่งมีทั้งหมด 17 เป้าหมายครอบคลุมในทุกมิติ

รศ.ดร.รณชัย ติยะรัตนาชัย

ผู้สอน

ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผศ.ดร.ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

อาจารย์วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นักบริหาร นักการศึกษา นักสื่อสารการตลาดดิจิทัล..

ผศ.ดร.พิชชา ประสิทธิ์มีบุญ

รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รศ.ดร.จรสวรรณ โกยวานิช

ผู้อำนวยการสำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รศ.ดร.จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง

อาจารย์คณะครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ดร.ไตรรัตน์ เมืองทองอ่อน

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณสมบูรณ์ มาตรคำจันทร์

หัวหน้าฝ่ายงานพัฒนานวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด

รศ.ดร.รณชัย ติยะรัตนาชัย

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คอร์สหมวด Legend

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save