Robotics and AI (Full Course) : หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
KMITL MASTERCLASS
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ราคา
1,000 บาท
- Don't have an account? Signup Now »
- Lost your password?
บทเรียนทั้งหมด (10 บท)
1 Introduction to Robotics (รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล)
หุ่นยนต์คืออะไร สำคัญอย่างไร แทนมนุษย์ได้มั้ย หุ่นยนต์มีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไรและ พัฒนามาได้อย่างไรและอยากจะออกแบบเรียนรู้เรื่องหุ่นยนต์จะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง
หมายเหตุ สำหรับผู้ลงทะเรียนเรียนผ่าน KLIX ไม่ต้องทำแบบฝึกหัดตาม QrCode ในคลิป VDO ตอนที่ 1 ค่ะ เนื่องจาก QrCode ดังกล่าวใช้สำหรับนักศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง
รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล
2 Introduction to Industrial Robot (รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล)
หุ่นยนต์อุตสาหกรรรมถูกใช้งานในอุตสาหกรรมแทนมนุษย์ โดยมากหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะควบคุมอย่างไร ใข้แทนมนุษย์ในงานอะไร มีกี่ประเภท เลือกใช้อย่างไรและหากจะนำมาใช้ต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล
3 Future Robotics (รศ.ดร.ปิติเขต สู้รักษา)
หุ่นยนต์ในอนาคต ซึ่งไม่มีผู้ใดทำนายได้อย่างแม่นยำ แต่สามารถคาดการณ์ได้จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน จริงหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า “หากต้องการดูอนาคตทางเทคโนโลยีฮอลิวูด เป็นแหล่งไอเดียที่ยอดเยี่ยมแห่งหนึ่ง?” ในตอนเชื่อมโยงถึงคลิปหุ่นยนต์ในโลกอนาคตแบบต่างๆ
ศ.ดร.ปิติเขต สู้รักษา
4 Future AI (รศ.ดร.ปิติเขต สู้รักษา)
ปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต ซึ่งไม่มีผู้ใดทำนายได้อย่างแม่นยำ แต่สามารถคาดการณ์ได้จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน จริงหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า “หากต้องการดูอนาคตทางเทคโนโลยีฮอลิวูด เป็นแหล่งไอเดียที่ยอดเยี่ยมแห่งหนึ่ง?” ในตอนเชื่อมโยงถึงคลิปปัญญาประดิษฐ์แบบต่าง ๆ ในโลกอนาคต
ศ.ดร.ปิติเขต สู้รักษา
5 Robot Sensor (ดร.กนกนุช ทรงสุวรรณกิจ)
เซนเซอร์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงในเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ เพราะเซนเซอร์นั้นเปรียบเสมือนประสาทสัมผัสเช่น หู ตา การสัมผัส ในร่างกายของมนุษย์ เพื่อทำหน้าที่รับข้อมูลต่าง ๆ จากภายนอก เซนเซอร์มีหลากหลายประเภท จึงต้องศึกษาและเรียนรู้คุณสมบัติต่าง ๆ เพื่อให้เลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง
ผศ.ดร.กนกนุช ทรงสุวรรณกิจ
6 Robot Actuatoprs (ดร.กนกนุช ทรงสุวรรณกิจ)
ในกระบวนการสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีหุ่นยนต์ นอกจากจะต้องมีเซนเซอร์เพื่อรับข้อมูลจากภายนอก และโปรแกรมเพื่อประมวลผลข้อมูลนั้นแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือส่วนที่ทำหน้าที่เสมือนอวัยวะที่รับคำสั่งมาจากส่วนประมวลผล และแปลงสัญญาณหรือคำสั่งที่ได้เป็นการกระทำทางกายภาพ ซึ่งก็คือตัวกระตุ้นให้ทำงานหรือแอคชูเอเตอร์นั่นเอง
ผศ.ดร.กนกนุช ทรงสุวรรณกิจ
7 Introduction to mobile robot (ดร.ภูมิ คงห้วยรอบ)
ภาพรวมของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ ตั้งแต่การแบ่งประเภทหุ่นยนต์ตามลักษณะการทำงานและชนิดของหุ่นยนต์ในรูปแบบต่างๆ และประวัติของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ ตลอดจนเซ็นเซอร์ที่มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาและใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ รวมถึงหลักการทำงานและ Software ที่จำเป็นหากผู้เรียนต้องการพัฒนาและสร้างหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้
ดร.ภูมิ คงห้วยรอบ
8 mobile robot applications (ดร.ภูมิ คงห้วยรอบ)
เน้นการเขียนโปรแกรมเชื่อมต่ออุปกรณ์เซ็นเซอร์อย่างง่าย และการต่ออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าสำหรับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ โดยเป็นหุ่นยนต์ชนิดเดิมตามเส้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจและสามารถเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อควบคุมหุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้ และต่อด้วยอุปกรณ์ที่จำเป็นพื้นฐานของทั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบชนิดใช้เส้น (AGV) และไม่ใช่เส้น (AIV) ในการนำทาง และท้ายสุดเป็นเนื้อหาของการคำนวณแบบ Forward and Inverse Kinematics ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้
ดร.ภูมิ คงห้วยรอบ
9 Introduction to AI AR VR (ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์)
เมื่อพูดถึงคำว่าปัญญาประดิษฐ์หรือ AI หลายคนคิดว่าเป็นศาสตร์ที่ยาก ต้องมีคนเชี่ยวชาญพิเศษถึงจะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ Chatbot เป็นหนึ่งในตัวอย่างของ AI ปัจจุบันนิยมนำมาใช้อย่างมากในการลดภาระของกาดต้องกรอกข้อความต่าง ๆ ในบทเรียนนี้เราจะเรียนรู้วิธีการสร้าง Chatbot แบบง่ายง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เลย
ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์
10 Introduction to Chat bot (ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์)
เมื่อเราพูดถึง การประยุกต์ใช้ AI ในด้านต่าง ๆ สิ่งหนึ่งที่ยากคือการที่มนุษย์จะเข้าใจได้ว่า ณ ตอนนี้ AI กำลังคิดอะไรอยู่ หรือกำลังจะทำอะไร เทคโนโลยี AR VR จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาช่วยทำให้มนุษย์เข้าใจว่า ณ เวลานี้ ระบบ AI กำลังจะทำอะไร หรือคิดอะไรอยู่
ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์
ผู้สอน
รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ศ.ดร.ปิติเขต สู้รักษา
อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
หัวหน้าโครงการชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรแปรรูปผลไม้ตัวต่อเพื่อธนาคารผลไม้เคลื่อนที่
ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม อาจารย์คณะวิศวกรรมกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผศ.ดร.กนกนุช ทรงสุวรรณกิจ
อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ดร.ภูมิ คงห้วยรอบ
อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง