Unit 2

ตอนที่ 2 การเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาด้วยภาษาไพทอน

  Unit 2 — ตอนที่ 2 การเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาด้วยภาษาไพทอน

หน้า 0/3

  ตอนที่ 2 การเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาด้วยภาษาไพทอน

การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มักจะเริ่มจากการทำความเข้าใจปัญหา หาแนวทางการแก้ปัญหาโดยอาจมองว่าปัญหาของเราที่ต้องการแก้นั้นข้อมูลนำเข้าของคอมพิวเตอร์หรืออินพุตคืออะไร ต้องการให้ระบบประมวลผลอย่างไร และต้องการคำตอบลักษณะใดออกมา จากนั้นจึงคิดขั้นตอนต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาที่เรียกว่าอัลกอริทึมแล้วพัฒนาต่อเป็นโปรแกรมโดยการนำคำสั่งและตัวดำเนินการต่าง ๆ มาเขียนเป็นโปรแกรม
ข้อมูลในภาษาไพทอนมีหลายชนิด เช่น ค่าคงที่ ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลแบบสตริง ข้อมูลแบบเชิงซ้อน ข้อมูลแบบออบเจ็กต์ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลแบบกลุ่มของข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น แบบลิสต์เป็นต้น การเขียนโปรแกรมประมวลผลข้อมูลมักจะต้องนำตัวดำเนินการมาดำเนินการกับข้อมูล เช่น การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ การประมวลผลทางลอจิก ส่วนคำสั่งพื้นฐานที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเช่น การตัดสินใจ การวนซ้ำเป็นต้น ถ้าหากโปรแกรมในส่วนใดมีความซับซ้อนหรือต้องเรียนใช้งานหลาย ๆ ครั้งมักจะสร้างเป็นฟังก์ชันเพื่อเรียกมาใช้งาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save